บิลเรียกเก็บ 1

หลายคนที่ได้รับ บิลเรียกเก็บ คงเคยเจอปัญหา “เงินไม่พอจ่ายบิล” เดี๋ยวค่าน้ำ เดี๋ยวค่าไฟ ไหนจะค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้านอีก จะไม่จ่าย ก็กลัวเจอกับค่าธรรมเนียมจ่ายช้า ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ หรือบางรายการก็อาจกระทบถึงประวัติในเครดิตบูโร แล้วเราจะจัดการบิลเรียกเก็บที่มาทุกเดือนพวกนี้ยังไง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับเราในภายหลัง

  1. หาจำนวนเงินที่อาจถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือน

ก่อนอื่นเราจะต้องจดรายการและจำนวนเงินที่คาดว่าจะถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือน ถ้ารู้จำนวนเงินล่วงหน้า ก็เขียนจำนวนเงินลงไปเลย แต่ถ้าไม่รู้จำนวนที่แน่นอน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้เขียนจำนวนที่คาดว่าจะต้องจ่ายลงไป แต่อย่าเขียนน้อยเกินไป เพราะอาจมีปัญหาเงินไม่พอจ่ายทีหลัง

เราอาจใช้ปฏิทินมาเป็นผู้ช่วยในการจัดการบิล โดยจดรายการและจำนวนเงินลงในวันที่เป็นกำหนดจ่าย แล้วอาจจะหาพื้นที่ว่างด้านข้างเพื่อรวมจำนวนเงินของบิลที่คาดว่าจะเรียกเก็บในเดือนนั้น หรือดาวน์โหลดปฏิทินสำหรับจัดการกับบิลเรียกเก็บได้ที่นี่ หรือจดง่าย ๆ ในสมุด บันทึกลงตารางในโปรแกรม excel หรือใช้ application ก็ได้

การจดแบบนี้จะทำให้เรารู้ว่า เราต้องกันเงินไว้สำหรับจ่ายบิลเป็นจำนวนเท่าไหร่ อย่างเช่นภาพปฏิทินตัวอย่างนี้ ทำให้เรารู้ว่า เราต้องกันเงินไว้ 11,055 บาทสำหรับบิลที่จะต้องจ่ายในเดือนมกราคม

สิ่งสำคัญที่สุด ควรเช็กบิลเรียกเก็บทุกครั้งที่ได้มา เพื่อให้มั่นใจว่า ค่าบริการถูกต้อง เรายังคงจ่ายบิลตรงเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม การขึ้นค่าบริการ หรือในทางกลับกัน บิลเหล่านี้อาจมีการให้สิทธิพิเศษ หรือส่วนลดค่าบริการที่เราได้ประโยชน์อยู่ด้วย

  1. แบ่งรายรับส่วนหนึ่งไว้สำหรับจ่าย บิลเรียกเก็บ

เราสามารถแบ่งรายรับไว้จ่ายบิลได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความถี่ของการเรียกเก็บ

1) บิลที่เรียกเก็บทุกเดือน

บิลประเภทนี้มักเป็นบิลที่มีจำนวนเงินไม่สูง สามารถใช้รายรับที่เข้ามาในเดือนนั้นจ่ายได้ เราก็จะใช้วิธีกันเงินส่วนหนึ่งออกมาจากรายรับเลย เช่น มีรายรับ 25,000 บาท และจำนวนบิลที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนคือ 11,055 บาท ก็ให้แยกเงินจำนวน 11,055 บาทไว้ต่างหาก เงินที่เหลือ 13,945 บาทถึงจะนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้

2) บิลที่นาน ๆ จะเรียกเก็บที

บิลประเภทนี้มักเป็นบิลที่มีจำนวนเงินค่อนข้างสูง เราอาจจะไม่สามารถใช้รายรับเพียง 1 เดือนจ่ายบิลนี้ได้ เช่น ค่าเทอม เบี้ยประกันรถ เราจึงต้องทยอยเก็บเงินเพื่อจ่ายบิลนี้ เช่น ต้องจ่ายค่าเทอมในเดือน พ.ค. จำนวน 16,000 บาท เราก็อาจจะวางแผนเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาทตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน เม.ย. พอถึงเดือน พ.ค. ก็มีเงินพร้อมจ่ายค่าเทอมพอดี

นอกจากหักเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้แบบนี้แล้ว เรายังสามารถใช้ “แผนใช้เงิน” เข้ามาช่วยในการแบ่งเงินเพื่อจ่ายบิลได้อีกด้วย โดยการจดรายรับและรายจ่ายทั้งหมด แล้วจัดสรรเงินไว้สำหรับบิลต่าง ๆ

บิลเรียกเก็บ 2

  1. กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับ บิลเรียกเก็บ ที่ไม่คาดคิด

นอกจากบิลที่เกิดขึ้นเป็นประจำแล้ว ยังมีบิลที่เราไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่อีก เช่น ค่าซ่อมของใช้ในบ้าน ค่าซ่อมรถ หรือค่ารักษาพยาบาล เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม ไม่เช่นนั้นบิลพวกนี้อาจทำให้เรามีปัญหาทางการเงินในภายหลังได้

เราควรหักเงินอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของรายรับ มาเก็บไว้เป็นเงินสำรองไว้ใช้เมื่อเกิดบิลที่ไม่คาดคิด แต่ถ้าใครยังไม่พร้อม และคิดว่า 10 เปอร์เซ็นต์มากไป ก็ค่อย ๆ ทยอยเก็บก็ได้ จนได้อย่างน้อย 3 – 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน เมื่อเจอบิลไม่คาดฝันหรือขาดรายได้กะทันหัน เราก็สามารถจ่ายบิลที่เกิดขึ้นเป็นประจำได้

  1. ทำตามแผนที่วางไว้ หากจ่ายไม่ไหว ต้องรีบติดต่อผู้ให้บริการ

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับบิลเรียกเก็บคือ การทำตามแผนที่วางไว้ เช่น วางแผนไว้ว่า จะเก็บเงินส่วนนี้ไว้จ่ายบิล ก็ต้องเก็บไว้จ่ายบิล ไม่นำไปใช้จ่ายสิ่งอื่นก่อนที่บิลจะเรียกเก็บ เพราะอาจเจอปัญหาเงินไม่พอเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายบิล จนต้องก่อหนี้เพื่อจ่ายบิล

หากเกิดปัญหาเงินไม่พอจ่ายบิลทั้งหมด ควรทำดังนี้

1) เช็กมาตรการช่วยเหลือ บางครั้งในช่วงวิกฤต ภาครัฐอาจมีมาตรการช่วยเหลือพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ หรือภาระหนี้สินต่าง ๆ เราจึงควรเช็กกับผู้ให้บริการหรือผู้เรียกเก็บบิลว่า มีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือไม่ หากมี ให้ขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

2) จ่ายบิลที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตก่อน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะหากไม่จ่าย อาจใช้ชีวิตลำบากขึ้น

3) ติดต่อผู้ให้บริการ (ผู้ที่เรียกเก็บเงิน) เพื่อขอผ่อนผันการจ่ายบิลที่เงินไม่พอจ่าย

4) ยกเลิกหรือลดการใช้บริการบิลที่เป็นรายจ่ายไม่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกในเดือนถัดไป เช่น ยกเลิกสัญญาดูละครรายเดือน ลดการใช้โทรศัพท์

  1. ตัดใจ หากเริ่มจ่ายบิลไม่ไหว

สำหรับบิลที่เรียกเก็บแล้ว เราอาจจะจัดการตามข้อ 4 แต่บิลที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนถัดไป เราต้องจัดการโดยการวางแผนตัดใจ แต่จะตัดใจจากบิลไหน ก็ต้องรู้ก่อนว่า แต่ละบิลเป็นรายจ่ายแบบไหน ซึ่งรายจ่ายของเราแบ่งออกได้ 2 แบบ

แบบที่ 1: รายจ่ายจำเป็น เป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถ้าไม่จ่ายอาจกระทบถึงสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค รายจ่ายประเภทนี้ตัดไม่ได้แต่ลดได้ เช่น แทนที่จะกินอาหารมื้อหรู ก็เลือกกินอาหารราคาธรรมดาที่มีสารอาหารครบ

แบบที่ 2: รายจ่ายไม่จำเป็น เป็นรายจ่ายที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตหากไม่จ่าย แต่อาจทำให้มีความสุขน้อยลงบ้าง รายจ่ายประเภทนี้สามารถตัดหรือลดได้ เช่น เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ลดค่ากาแฟ หรือค่าหวย

พอรู้จักประเภทรายจ่ายแล้ว ก็ต้องกลับมาดูบิลในเดือนถัดไปของเราว่า เป็นรายจ่ายแบบไหน ถ้าเป็นรายจ่ายจำเป็น เราก็ใช้วิธีลด เช่น ลดค่าโทรศัพท์ หรือบิลไหนที่เป็นรายจ่ายไม่จำเป็น เช่น ค่ารองเท้าราคาแพง ก็อาจจะต้องตัดใจไม่ซื้อ หรือลองหารายจ่ายไม่จำเป็นใน เงินหายไปไหน


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ตัวติดตามไทล์ จะบอกได้อย่างไรว่าที่ไม่รู้จักกำลังสะกดรอยตาม
วิทยาการ เพื่อความก้าวหน้าของชีวิต
Nike มุ่งสู่แนวทางสีเขียวสำหรับยุคดิจิทัล ผู้บริโภคมากขึ้น
สร้างพอร์ตมั่นคง ลงทุนยั่งยืน!!
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://umldigitalops.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bot.or.th