Health

  • ฮีทสโตรก ภัยร้ายช่วงหน้าร้อนสามารถป้องกันได้
    ฮีทสโตรก ภัยร้ายช่วงหน้าร้อนสามารถป้องกันได้

    ฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือโรคลมแดด ภัยร้ายช่วงหน้าร้อน

    ฮีทสโตรก (Heatstroke)  หรือโรคลมแดด คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ประเภทของฮีทสโตรก

    • โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลัง (Exertional heatstroke) เกิดจากการออกกําลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน
    • โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลัง (Nonexertional or classic heatstroke) เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังมักจะไวต่อการเป็นโรคลมแดดประเภทนี้

    ฮีทสโตรก มีอาการแบบไหนและมีสาเหตุมาจากอะไร  

    อาการของโรคลมแดด

    • เมื่ออุณหภูมิร่างกายที่วัดจากภายในร่างกาย เช่น ผ่านทางทวารหนักสูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
    • พฤติกรรมหรือสภาพจิตใจเปลี่ยนไป เช่น สับสนเฉียบพลัน หงุดหงิดฉุนเฉียว พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ ชัก หรือโคม่า
    • หากเป็นโรคลมแดดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งและร้อน
    • หากเป็นโรคลมแดดจากการออกกําลังกายอย่างหนัก ผิวจะแห้งและชื้นเล็กน้อย
    • คลื่นไส้และอาเจียน
    • ผิวหนังแดงขึ้น
    • หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบถี่
    • ปวดหัวตุบๆ

    สาเหตุของโรคลมแดด

    • อากาศร้อนชื้น
    • ออกกําลังกายหรือใช้แรงมากขณะที่อยู่ในสภาพอากาศร้อน
    • สวมเสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศหรือหนา ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกได้ อุณหภูมิของร่างกายจึงไม่สูงขึ้น
    • ดื่มน้ำน้อย
    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

    ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

    เมื่อพบคนที่เป็นลมแดด หรือสงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะที่คล้ายเป็นโรคลมแดด ควรโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลและกู้ภัย ขณะที่รอความช่วยเหลืออยู่นั้น ควรทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ที่เป็นลมแดดเย็นลงโดยทันที โดยการพาเข้าที่ร่มหรือด้านในตึก หากสวมเสื้อหลายชั้นควรถอดเสื้อชั้นนอกออก ใช้น้ำแข็งประคบหรือวางผ้าชุบน้ำลงบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ หรือฉีดน้ำรดตัว หรือนำผู้ป่วยลงแช่น้ำเย็น

    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดฮีทสโตรก

    • อายุ ในเด็กเล็ก ระบบประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ และในผู้สูงอายุ ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อม อีกทั้งยังเป็นวัยที่มักไม่ค่อยดื่มน้ำหากไม่มีใครเตือน จึงทำให้คน 2 วัยนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดมากกว่าคนวัยอื่น
    • สัมผัสกับอากาศร้อนหรือแสงแดดแรงอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน
    • การออกกําลังกายที่ต้องใช้กําลังมากเป็นเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การเล่นฟุตบอล และการฝึกทหาร
    • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยารักษาความดัน (beta-blockers) ยาต้านเศร้า หรือยาสำหรับผู้ที่มีสมาธิสั้น
    • มีประวัติเป็นโรคลมแดดหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน

    การป้องกันฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด

    สามารถป้องกันได้ โดยสามารถอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนได้อย่างปลอดภัยหากทําตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่บริเวณอากาศร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิน 40 องศาเซลเซียส
    • ปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมงหรือถี่กว่านั้นหากเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ
    • สวมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าเบาบาง ระบายอากาศได้ดี และไม่รัด
    • ดื่มน้ำบ่อยๆ
    • งดทํากิจกรรมหนัก ๆ หรือออกกําลังกายในสภาพอากาศร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายในตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็นแทน
    • หากเพิ่งเดินทางไปถึงประเทศที่มีอากาศร้อนจัด ควรใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อย ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนมีแนวโน้มที่จะป่วยจากอากาศร้อน
    • ไม่ปล่อยให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในรถที่จอดทิ้งไว้ในที่ที่อากาศร้อนเพราะอุณหภูมิในรถอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 11 องศาเซลเซียสภายใน 10 นาที การจอดรถในที่ร่มหรือเปิดหน้าต่างรถไม่ช่วยให้ไม่เป็นโรคลมแดด
    • ระมัดระวังหากกําลังรับประทานยาบางชนิดหรือมีโรคประจำตัวที่อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการโรคลมแดด

    ฮีทสโตรก

    ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นฮีทสโตรก Heat Stroke 

    • เด็ก ,ผู้สูงอายุ
    • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
    • คนที่ทำงานในที่อากาศร้อนชื้น
    • ผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ๆ ในบริเวณที่มีอากาศร้อนจัด หรือนักกีฬาสมัครเล่น
    • ทหารผู้ที่ไม่ได้เตรียมร่างกาย เมื่อต้องเข้ารับการฝึก
    • ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด

    การตรวจวินิจฉัย และการรักษาฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด

    โรคลมแดดมักจะแสดงอาการชัดเจน แต่แพทย์อาจให้ตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอวัยวะและตัดสาเหตุอื่น ๆ ทิ้ง

    • การวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนัก เป็นวิธีที่แม่นยำกว่าการวัดอุณหภูมิทางปากและหน้าผาก
    • การตรวจเลือด เพื่อประเมินความเสียหายของอวัยวะภายในโดยการตรวจสอบระดับก๊าซในเลือด รวมถึงสารเกลือแร่ในเลือด ค่าตับ ไต การวัดการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
    • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่าไตและกล้ามเนื้อมีความเสียหายหรือไม่ อาการป่วยจากอากาศร้อนมักจะทําให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น
    • การตรวจกล้ามเนื้อ เพื่อดูว่ามีภาวะกล้ามเนื้อสลายหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหายหรือไม่
    • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายสมอง ถ้าสงสัยว่าอาการที่เป็น เกิดจากภาวะอื่นของสมอง

    การรักษาโรคลมแดด

    แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดต่อสมองและอวัยวะสําคัญ

    • การแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิและลดความเสี่ยงที่อวัยวะจะได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต
    • เทคนิคการระบายความร้อนลดอุณหภูมิ ด้วยการพ่นละอองน้ำเย็นลงบนร่างกายขณะที่เป่าลมจากพัดลมเพื่อทำให้เกิดการระเหยที่เร็วขึ้นและทำให้ผิวเย็นลง
    • การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งห่มตัวและประคบน้ำแข็งลงบนคอ หลัง รักแร้ และขาหนีบ
    • แพทย์อาจให้รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดสั่นจากการลดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีข้างต้น เพราะการที่ร่างกายสั่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร

    การรักษาตัวเองที่บ้าน

    หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะการพยายามลดอุณหภูมิร่างกายเองนั้นอาจไม่สำเร็จ ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายตัวจากอากาศร้อน ซึ่งยังไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรพยายามลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม โดยทำได้ตามวิธีดังนี้

    • ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ฉีดน้ำเย็นรดตัว ร่วมกับใช้พัดหรือพัดลม
    • อาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำเย็น หากอยู่กลางแจ้งอาจแช่ตัวในลําธารหรือแม่น้ำ
    • นั่งในที่ร่ม หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า
    • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่สูญเสียไป
    • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทําให้ปวดท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

    อาการของโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

    1. อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส หรือ 106 องศาฟาเรนไฮต์
    2. มีอาการหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือหายใจรุนแรงกว่าปกติ
    3. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
    4. น้ำลายไหล จมูกและปากเปียก
    5. เหงือกสีแดงเข้ม
    6. มีอาการชัก กล้ามเนื้อสั่นเกร็ง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    วิธีการปฐมพยาบาลโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น

    การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้เมื่อสัตว์เลี้ยงเป็นโรคลมแดด สิ่งสำคัญคือการทำให้อุณหภูมิร่างกายของสัตว์ลดลงแต่อย่าให้ลดลงเร็วจนเกินไป โดยควรปฏิบัติ ดังนี้

    1. ถ้าสัตว์เลี้ยงของเราอยู่ในที่อากาศร้อน แออัด ให้นำน้องมาอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวกทันที จากนั้นถอดเสื้อผ้าหรือปลอกคอที่ทำให้สัตว์อึดอัดออก
    2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว รวมถึงเช็ดใต้ฝ่าเท้า รักแร้ และขาหนีบ เพื่อช่วยระบายความร้อนควรใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการเช็ด ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำที่อุ่นเกินไป เพราะสัตว์อาจเกิดภาวะช็อคได้
    3. นวดบริเวณขาเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

    เมื่อปฐมพยาบาลเสร็จควรรีบนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างละเอียด และห้ามให้ยาโดยไม่ได้รับการพิจารณาจากสัตวแพทย์เด็ดขาด

    วิธีป้องกันโรคลมแดด (Heat Stroke) ในสัตว์เลี้ยง

    อาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) มักเกิดในช่วงที่มีอากาศร้อนจัดและมีความชื้นสูง เจ้าของต้องคอยสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตนเองบ่อยๆ เวลาเขาวิ่งเล่นหรือออกกำลังกาย หากสุนัขดูหอบมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเริ่มแรกของฮีทสโตรก ควรหลีกเลี่ยงการให้สัตว์เลี้ยงไปอยู่ในบริเวณที่อากาศร้อนและอากาศถ่ายเทไม่ดี และวางน้ำไว้ให้สัตว์ได้กินตลอดเวลา อาจจะเพิ่มน้ำแข็งสักก้อนให้เขาได้เลียคลายความร้อน

    ฮีทสโตรกเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับสัตว์เลี้ยงมากๆ เพราะประเทศไทยอากาศร้อนตลอดเวลา โรคลมแดดเลยมีโอกาสเกิดขึ้นกับน้องสัตว์ได้เสมอ ดังนั้นเจ้าของควรใส่ใจและสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับสัตว์ที่เราเลี้ยงควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วพามาพบสัตว์แพทย์ทันที

    หากพบผู้มี “อาการโรคลมแดด” ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  umldigitalops.com

    สนับสนุโดย  ufabet369

Economy

  • จัดการกับ บิลเรียกเก็บ
    จัดการกับ บิลเรียกเก็บ

    หลายคนที่ได้รับ บิลเรียกเก็บ คงเคยเจอปัญหา “เงินไม่พอจ่ายบิล” เดี๋ยวค่าน้ำ เดี๋ยวค่าไฟ ไหนจะค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนรถ ผ่อนบ้านอีก จะไม่จ่าย ก็กลัวเจอกับค่าธรรมเนียมจ่ายช้า ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ หรือบางรายการก็อาจกระทบถึงประวัติในเครดิตบูโร แล้วเราจะจัดการบิลเรียกเก็บที่มาทุกเดือนพวกนี้ยังไง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับเราในภายหลัง

    1. หาจำนวนเงินที่อาจถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือน

    ก่อนอื่นเราจะต้องจดรายการและจำนวนเงินที่คาดว่าจะถูกเรียกเก็บในแต่ละเดือน ถ้ารู้จำนวนเงินล่วงหน้า ก็เขียนจำนวนเงินลงไปเลย แต่ถ้าไม่รู้จำนวนที่แน่นอน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้เขียนจำนวนที่คาดว่าจะต้องจ่ายลงไป แต่อย่าเขียนน้อยเกินไป เพราะอาจมีปัญหาเงินไม่พอจ่ายทีหลัง

    เราอาจใช้ปฏิทินมาเป็นผู้ช่วยในการจัดการบิล โดยจดรายการและจำนวนเงินลงในวันที่เป็นกำหนดจ่าย แล้วอาจจะหาพื้นที่ว่างด้านข้างเพื่อรวมจำนวนเงินของบิลที่คาดว่าจะเรียกเก็บในเดือนนั้น หรือดาวน์โหลดปฏิทินสำหรับจัดการกับบิลเรียกเก็บได้ที่นี่ หรือจดง่าย ๆ ในสมุด บันทึกลงตารางในโปรแกรม excel หรือใช้ application ก็ได้

    การจดแบบนี้จะทำให้เรารู้ว่า เราต้องกันเงินไว้สำหรับจ่ายบิลเป็นจำนวนเท่าไหร่ อย่างเช่นภาพปฏิทินตัวอย่างนี้ ทำให้เรารู้ว่า เราต้องกันเงินไว้ 11,055 บาทสำหรับบิลที่จะต้องจ่ายในเดือนมกราคม

    สิ่งสำคัญที่สุด ควรเช็กบิลเรียกเก็บทุกครั้งที่ได้มา เพื่อให้มั่นใจว่า ค่าบริการถูกต้อง เรายังคงจ่ายบิลตรงเวลา ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม การขึ้นค่าบริการ หรือในทางกลับกัน บิลเหล่านี้อาจมีการให้สิทธิพิเศษ หรือส่วนลดค่าบริการที่เราได้ประโยชน์อยู่ด้วย

    1. แบ่งรายรับส่วนหนึ่งไว้สำหรับจ่าย บิลเรียกเก็บ

    เราสามารถแบ่งรายรับไว้จ่ายบิลได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความถี่ของการเรียกเก็บ

    1) บิลที่เรียกเก็บทุกเดือน

    บิลประเภทนี้มักเป็นบิลที่มีจำนวนเงินไม่สูง สามารถใช้รายรับที่เข้ามาในเดือนนั้นจ่ายได้ เราก็จะใช้วิธีกันเงินส่วนหนึ่งออกมาจากรายรับเลย เช่น มีรายรับ 25,000 บาท และจำนวนบิลที่ต้องจ่ายแต่ละเดือนคือ 11,055 บาท ก็ให้แยกเงินจำนวน 11,055 บาทไว้ต่างหาก เงินที่เหลือ 13,945 บาทถึงจะนำไปใช้จ่ายอย่างอื่นได้

    2) บิลที่นาน ๆ จะเรียกเก็บที

    บิลประเภทนี้มักเป็นบิลที่มีจำนวนเงินค่อนข้างสูง เราอาจจะไม่สามารถใช้รายรับเพียง 1 เดือนจ่ายบิลนี้ได้ เช่น ค่าเทอม เบี้ยประกันรถ เราจึงต้องทยอยเก็บเงินเพื่อจ่ายบิลนี้ เช่น ต้องจ่ายค่าเทอมในเดือน พ.ค. จำนวน 16,000 บาท เราก็อาจจะวางแผนเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาทตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน เม.ย. พอถึงเดือน พ.ค. ก็มีเงินพร้อมจ่ายค่าเทอมพอดี

    นอกจากหักเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้แบบนี้แล้ว เรายังสามารถใช้ “แผนใช้เงิน” เข้ามาช่วยในการแบ่งเงินเพื่อจ่ายบิลได้อีกด้วย โดยการจดรายรับและรายจ่ายทั้งหมด แล้วจัดสรรเงินไว้สำหรับบิลต่าง ๆ

    บิลเรียกเก็บ 2

    1. กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับ บิลเรียกเก็บ ที่ไม่คาดคิด

    นอกจากบิลที่เกิดขึ้นเป็นประจำแล้ว ยังมีบิลที่เราไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่อีก เช่น ค่าซ่อมของใช้ในบ้าน ค่าซ่อมรถ หรือค่ารักษาพยาบาล เราจึงต้องเตรียมตัวให้พร้อม ไม่เช่นนั้นบิลพวกนี้อาจทำให้เรามีปัญหาทางการเงินในภายหลังได้

    เราควรหักเงินอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ของรายรับ มาเก็บไว้เป็นเงินสำรองไว้ใช้เมื่อเกิดบิลที่ไม่คาดคิด แต่ถ้าใครยังไม่พร้อม และคิดว่า 10 เปอร์เซ็นต์มากไป ก็ค่อย ๆ ทยอยเก็บก็ได้ จนได้อย่างน้อย 3 – 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน เมื่อเจอบิลไม่คาดฝันหรือขาดรายได้กะทันหัน เราก็สามารถจ่ายบิลที่เกิดขึ้นเป็นประจำได้

    1. ทำตามแผนที่วางไว้ หากจ่ายไม่ไหว ต้องรีบติดต่อผู้ให้บริการ

    ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับบิลเรียกเก็บคือ การทำตามแผนที่วางไว้ เช่น วางแผนไว้ว่า จะเก็บเงินส่วนนี้ไว้จ่ายบิล ก็ต้องเก็บไว้จ่ายบิล ไม่นำไปใช้จ่ายสิ่งอื่นก่อนที่บิลจะเรียกเก็บ เพราะอาจเจอปัญหาเงินไม่พอเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายบิล จนต้องก่อหนี้เพื่อจ่ายบิล

    หากเกิดปัญหาเงินไม่พอจ่ายบิลทั้งหมด ควรทำดังนี้

    1) เช็กมาตรการช่วยเหลือ บางครั้งในช่วงวิกฤต ภาครัฐอาจมีมาตรการช่วยเหลือพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ หรือภาระหนี้สินต่าง ๆ เราจึงควรเช็กกับผู้ให้บริการหรือผู้เรียกเก็บบิลว่า มีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐหรือไม่ หากมี ให้ขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

    2) จ่ายบิลที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตก่อน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เพราะหากไม่จ่าย อาจใช้ชีวิตลำบากขึ้น

    3) ติดต่อผู้ให้บริการ (ผู้ที่เรียกเก็บเงิน) เพื่อขอผ่อนผันการจ่ายบิลที่เงินไม่พอจ่าย

    4) ยกเลิกหรือลดการใช้บริการบิลที่เป็นรายจ่ายไม่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกในเดือนถัดไป เช่น ยกเลิกสัญญาดูละครรายเดือน ลดการใช้โทรศัพท์

    1. ตัดใจ หากเริ่มจ่ายบิลไม่ไหว

    สำหรับบิลที่เรียกเก็บแล้ว เราอาจจะจัดการตามข้อ 4 แต่บิลที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนถัดไป เราต้องจัดการโดยการวางแผนตัดใจ แต่จะตัดใจจากบิลไหน ก็ต้องรู้ก่อนว่า แต่ละบิลเป็นรายจ่ายแบบไหน ซึ่งรายจ่ายของเราแบ่งออกได้ 2 แบบ

    แบบที่ 1: รายจ่ายจำเป็น เป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถ้าไม่จ่ายอาจกระทบถึงสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค รายจ่ายประเภทนี้ตัดไม่ได้แต่ลดได้ เช่น แทนที่จะกินอาหารมื้อหรู ก็เลือกกินอาหารราคาธรรมดาที่มีสารอาหารครบ

    แบบที่ 2: รายจ่ายไม่จำเป็น เป็นรายจ่ายที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตหากไม่จ่าย แต่อาจทำให้มีความสุขน้อยลงบ้าง รายจ่ายประเภทนี้สามารถตัดหรือลดได้ เช่น เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ลดค่ากาแฟ หรือค่าหวย

    พอรู้จักประเภทรายจ่ายแล้ว ก็ต้องกลับมาดูบิลในเดือนถัดไปของเราว่า เป็นรายจ่ายแบบไหน ถ้าเป็นรายจ่ายจำเป็น เราก็ใช้วิธีลด เช่น ลดค่าโทรศัพท์ หรือบิลไหนที่เป็นรายจ่ายไม่จำเป็น เช่น ค่ารองเท้าราคาแพง ก็อาจจะต้องตัดใจไม่ซื้อ หรือลองหารายจ่ายไม่จำเป็นใน เงินหายไปไหน


    ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    ตัวติดตามไทล์ จะบอกได้อย่างไรว่าที่ไม่รู้จักกำลังสะกดรอยตาม
    วิทยาการ เพื่อความก้าวหน้าของชีวิต
    Nike มุ่งสู่แนวทางสีเขียวสำหรับยุคดิจิทัล ผู้บริโภคมากขึ้น
    สร้างพอร์ตมั่นคง ลงทุนยั่งยืน!!
    ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://umldigitalops.com/
    สนับสนุนโดย  ufabet369
    ที่มา www.bot.or.th